หลักสูตรการค้าระหว่างประเทศเบื้องต้น
แชร์
ไม่มีค่าใช้จ่าย
สมัครเลย
E-Learning
ออนไลน์ Online
ออนไลน์
ไทย
1 ม.ค. 2563 - 31 ธ.ค. 2576
1 ม.ค. 2563 - 31 ธ.ค. 2576
ไม่จำกัดจำนวน
การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกันเรียกว่า “ประเทศคู่ค้า” สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า “สินค้าเข้า” imports และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไป เรียกว่า “สินค้าออก”exports ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า “ประเทศผู้นำเข้า” ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่างประเทศ เรียกว่า “ประเทศผู้ส่งออก” โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้ส่งสินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่าง ๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน ประเทศที่ผลิตสินค้าได้เกินความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ จะมีสินค้าเหลือก็สามารถส่งออกไปขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศอื่นที่ผลิตสินค้าภายในประเทศไม่ได้ หรือต้องใช้ต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า แต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ประเทศของตนเอง มีปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด

ในยุคปัจจุบันการค้าระหว่างประเทศได้เติบโตอย่างรวดเร็ว ประกอบกับนโยบายการเปิดการค้าเสรีต่าง ๆ ที่ประเทศไทยจะต้องเข้ารวมทั้งในฐานะผู้นำเข้าและส่งออก เมื่อผู้ประกอบการสามารถทุ่มเททรัพยากรในการผลิตสิ่งที่ตนถนัดแล้วนำไปส่งออกขาย ก็จะได้รายได้เพื่อเข้าประเทศ ทำให้มีเงินทุนที่สามารถนำไปขยายการผลิตและทำให้เศรษฐกิจในประเทศเกิดการขยายตัวได้อย่างดีขึ้น

หลักสูตรวิชานี้ได้ออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการที่ต้องการค้าขายสินค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากการส่งออกเป็นเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ดังนั้น ตราบใดที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น ผู้ประกอบการทุกท่านกควรมีความรู้เบื้องต้นในการส่งออกและนำเข้าสินค้า เพื่อเป็นประโยชน์ต่อตัวท่านเองในภายภาคหน้า
การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกันเรียกว่า “ประเทศคู่ค้า” สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า “สินค้าเข้า” imports และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไป เรียกว่า “สินค้าออก”exports ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า “ประเทศผู้นำเข้า” ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่างประเทศ เรียกว่า “ประเทศผู้ส่งออก” โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้ส่งสินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่าง ๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน ประเทศที่ผลิตสินค้าได้เกินความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ จะมีสินค้าเหลือก็สามารถส่งออกไปขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศอื่นที่ผลิตสินค้าภายในประเทศไม่ได้ หรือต้องใช้ต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า แต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ประเทศของตนเอง มีปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด

ในยุคปัจจุบันการค้าระหว่างประเทศได้เติบโตอย่างรวดเร็ว ประกอบกับนโยบายการเปิดการค้าเสรีต่าง ๆ ที่ประเทศไทยจะต้องเข้ารวมทั้งในฐานะผู้นำเข้าและส่งออก เมื่อผู้ประกอบการสามารถทุ่มเททรัพยากรในการผลิตสิ่งที่ตนถนัดแล้วนำไปส่งออกขาย ก็จะได้รายได้เพื่อเข้าประเทศ ทำให้มีเงินทุนที่สามารถนำไปขยายการผลิตและทำให้เศรษฐกิจในประเทศเกิดการขยายตัวได้อย่างดีขึ้น

หลักสูตรวิชานี้ได้ออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการที่ต้องการค้าขายสินค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากการส่งออกเป็นเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ดังนั้น ตราบใดที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น ผู้ประกอบการทุกท่านกควรมีความรู้เบื้องต้นในการส่งออกและนำเข้าสินค้า เพื่อเป็นประโยชน์ต่อตัวท่านเองในภายภาคหน้า
ไม่มีค่าใช้จ่าย
ออนไลน์ ,กรุงเทพมหานคร ,ไทย
คุณนพปฎล สุวรรณทรัพย์
สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่
-
02 507 7999 ต่อ 8158
-
ย้อนกลับ